Large Spinner

*ผลงานชิ้นนี้เหมาะสำหรับรับชมบนหน้าจอคอมพิวเตอร์*

เลื่อนเพื่อเข้าเนื้อหา

หนี้ครัวเรือน เป็นปัญหาคู่สังคมไทยที่หลายคนคงคุ้นหูกันอยู่แล้ว

แต่ถ้าถามว่าปัญหาหนี้ของบ้านเราน่ากังวลหรือไม่ เราคงต้องมาดูสองเรื่อง คือ
1
คนไทยมีหนี้เยอะแค่ไหน และ
2
สถานการณ์หนี้คนไทยรุนแรงแค่ไหน

text_intro_part_1 text_intro_part_1_mobile

คุณคิดว่าทุกวันนี้มีคนไทย
กี่เปอร์เซ็นต์ที่มีหนี้?

(กดเลือกคำตอบ)

A

37%

25 ล้านคน

B

25%

17 ล้านคน

C

16%

11 ล้านคน

face_all

เลื่อนเพื่อดูคำตอบ

icon_topic_1_active

จำนวนคนมีหนี้

icon_topic_2

ปริมาณหนี้

icon_topic_3

จำนวนบัญชีหนี้

คนไทยจำนวนมากมีหนี้

1 ใน 3 ของคนไทยมีหนี้

จากข้อมูลสินเชื่อในระบบที่อยู่ในเครดิตบูโร info ในปัจจุบัน (มีนาคม 2565) มีคนที่มีหนี้สูงถึง 37% หรือคิดเป็นราว 1 ใน 3 ของประชากรไทยและสัดส่วนคนที่มีหนี้ก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

คนไทยจำนวนมากมีหนี้

โดยจากปี 2560 ถึง 2565 สัดส่วนคนไทยที่มีหนี้เพิ่มขึ้นจาก 30% เป็น 37% ของประชากรไทย

คนไทยมีหนี้ในปริมาณที่สูง

57% ของคนไทยที่มีหนี้ มีหนี้เกิน 100,000 บาท

กลุ่มที่มีหนี้เกิน 1,000,000 บาท มีถึง 14% โดยมูลค่าหนี้เฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 520,000 บาท และในภาพรวมมูลค่าหนี้ของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 2 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

คนไทยมีบัญชีหนี้หลายบัญชี

32% ของคนไทยที่มีหนี้
มีหนี้ 4 บัญชีขึ้นไป*

คนไทยที่มีหนี้ มีหนี้โดยเฉลี่ย 3 บัญชีต่อคนและ 32% มีหนี้ 4 บัญชีขึ้นไป

(*เช่น คุณสมชายมีหนี้บัตรเครดิต 3 ใบ หนี้รถ 1 คัน และสินเชื่อส่วนบุคคลอีก 1 บัญชี รวมเป็น 5 บัญชีี)

ที่มา : บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) และกรมการปกครอง
กระทรวงมหาดไทย คำนวณโดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2565)

book_01 book_01
book_02 book_02
book_03 book_03

จากสามมิติของข้อมูลหนี้ คงเห็นแล้วว่าคนไทยมีหนี้กัน “เยอะ” ทีเดียว แล้วสถานการณ์หนี้ของบ้านเราเหมือนหรือต่างจากประเทศอื่น ๆ อย่างไร

จากข้อมูล มีข้อสังเกต
สามประการที่น่าสนใจ…

  1. สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของบ้านเราสูงกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging market economies) อื่น ๆ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

จากข้อมูล มีข้อสังเกตสามประการที่น่าสนใจ…

  1. ในขณะเดียวกัน สัดส่วนหนี้ต่อ GDP ของไทยก็สูงพอ ๆ กับประเทศพัฒนาแล้ว (advanced economies) เช่น สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
  2. ที่สำคัญ สัดส่วนหนี้ต่อ GDP ของไทยยังขยายตัวเร็วกว่าหลายประเทศอย่างชัดเจน โดยเพิ่มขึ้นถึง 55% ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยและประเทศอื่น ๆ

สัดส่วนหนี้
ครัวเรือนต่อ GDP

สวิตเซอร์แลนด์

ไทย

สหราชอาณาจักร

สหรัฐอเมริกา

มาเลเซีย

ญี่ปุ่น

จีน

สิงคโปร์

อินเดีย

อินโดนีเซีย

ปี

ที่มา : ​ธนาคารแห่งประเทศไทยและ Bank for International Settlements (2564)

bg_paper_03

จากที่เห็นว่าคนไทยมีหนี้กันเยอะ

นำมาซึ่งคำถามสำคัญข้อถัดไป

bg_yellow_02

ปัญหานี้มองภาพใหญ่แค่ปริมาณหนี้อย่างเดียวอาจยังไม่พอ แต่ต้องเข้าใจด้วยว่าหนี้ของคนไทยอยู่ในสินเชื่อประเภทใด และอยู่กับผู้กู้กลุ่มไหน

หนี้ส่วนใหญ่ของคนไทย
อยู่ในสินเชื่อประเภทไหน?

เราสามารถแบ่งหนี้กว้าง ๆ ได้เป็นสองประเภท

หนี้ที่ไม่สร้างรายได้
(non-productive loan)
หรือหนี้พึงระวัง

หนี้ที่ให้ความสุขสบายในวันนี้ แต่มักไม่ทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต เพราะส่วนใหญ่เป็นของที่ใช้แล้วหมดไป ไม่ช่วยให้เรามีรายได้เพิ่มขึ้น เช่น หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค หนี้จากการจับจ่ายซื้อของที่เกินฐานะ

หนี้ที่สร้างรายได้
(productive loan)
หรือหนี้ดี

หนี้ที่ช่วยให้เรามีรายได้เพิ่มขึ้น สร้างอนาคต สร้างอาชีพ หรือความมั่นคงระยะยาว เช่น หนี้เพื่อการศึกษา หนี้ซื้อบ้าน หนี้เพื่อซื้ออุปกรณ์ประกอบอาชีพ

2 ใน 3 ของบัญชีหนี้ครัวเรือนทั้งหมดของไทย
อาจเป็นสินเชื่อที่ไม่สร้างรายได้

ประกอบด้วยสินเชื่อส่วนบุคคล 39% และบัตรเครดิต 29%

ขณะที่หนี้ที่สามารถสร้างรายได้หรือความมั่งคั่งอย่างหนี้เพื่อธุรกิจและหนี้บ้านกลับมีสัดส่วนจำนวนบัญชีเพียงอย่างละ 4% เท่านั้นจากบัญชีทั้งหมด

สัดส่วนบัญชีหนี้ แยกตามประเภทผลิตภัณฑ์

ที่มา : ​เครดิตบูโร คำนวณโดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2565)
หมายเหตุ : ข้อมูลเมื่อมีนาคม 2565

ถึงแม้เมื่อดูเป็นสัดส่วนมูลค่าหนี้แล้ว หนี้บ้านจะคิดเป็น 35% ของมูลค่าหนี้รวมทั้งหมด แต่เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่มีสัดส่วนหนี้ต่อ GDP ใกล้เคียงกับไทย จะเห็นได้ว่ามูลค่าหนี้ส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านั้นเป็นหนี้บ้าน

สัดส่วนมูลค่าหนี้บ้านของไทยและประเทศต่าง ๆ

ที่มา : CEIC, ธนาคารแห่งประเทศไทย, และธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ
ข้อมูลในช่วงปี 2563–2565 แล้วแต่ข้อมูลล่าสุดที่มีตามแต่ละประเทศ

จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า สถานการณ์หนี้ของคนไทยค่อนข้างน่ากังวล เนื่องจากบัญชีหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่อาจไม่สร้างรายได้

ซึ่งมีระยะผ่อนสั้นแต่ดอกเบี้ยสูง ทำให้มีภาระผ่อนต่อเดือนที่สูง ในขณะเดียวกัน ข้อมูลยังอาจสะท้อนได้อีกว่าคนไทยมีปัญหาในการเข้าถึงสินเชื่อที่จำเป็น เช่น สินเชื่อบ้าน

หนี้อยู่กับใคร
และจ่ายคืนได้หรือไม่?

1 ใน 5 ของคนไทยที่เป็นหนี้มีหนี้เสีย

20% ของคนไทยที่เป็นหนี้ในเครดิตบูโรกำลังประสบกับปัญหาหนี้เสีย info

คนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงานมีหนี้เร็วขึ้น
และเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนคนมีหนี้เสียสูงที่สุด

1 ใน 2 ของคนรุ่นใหม่วัยเริ่มทำงานจะเริ่มมีหนี้สินกันแล้ว และสัดส่วนนี้ก็เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา

คนไทยมีปัญหาหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยกลุ่มวัยเริ่มทำงานมีสัดส่วนการใช้สินเชื่อที่อาจไม่สร้างรายได้สูงที่สุด และมีสัดส่วนผู้กู้ที่มีหนี้เสียสูงที่สุดด้วยถึง 1 ใน 4

สัดส่วนคนไทยที่มีหนี้เสีย

จากคนไทยที่เป็นหนี้ 100%

ที่มา : ​เครดิตบูโร คำนวณโดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2565)

หมายเหตุ : ข้อมูลเมื่อมีนาคม 2565

เกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
เป็นสองกลุ่มที่มีสถานการณ์หนี้น่าเป็นห่วง

เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มต่าง ๆ พบว่า เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยเป็นสองกลุ่มผู้กู้ที่มีสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้สูง โดยเฉลี่ย 12 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ของเกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยอยู่ที่ 34% และ 41% ตามลำดับ

(หมายความว่า หากมีรายได้ 100 บาท ต้องจ่ายหนี้ 34 บาท และ 41 บาท ทำให้เหลือเงินเก็บและใช้จ่ายน้อยลง)

ซึ่งแสดงว่าหนี้ที่มีอาจเกินกำลังจะจ่ายไหว ทำให้เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยเป็นสองกลุ่มสำคัญที่ปัญหาหนี้อยู่ในระดับที่น่ากังวล

สัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio: DSR) เฉลี่ยปี 2552—2564

ที่มา : ​สำนักงานสถิติแห่งชาติ คำนวณโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

จากข้อมูลข้างต้น ทำให้เราเข้าใจได้ว่าสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก

เพราะหนี้ส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อที่อาจไม่สร้างรายได้ และไปอยู่กับกลุ่มผู้กู้ที่มีปัญหาด้านความสามารถในการจ่ายคืนหนี้

เช่น เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้กู้ที่มีจำนวนมาก รวมถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีหนี้เร็วและมีปัญหาตั้งแต่อายุยังน้อย จะทำให้การเข้าถึงสินเชื่อและเงินทุนในอนาคตทำได้ยากขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งการลงทุนที่มีประสิทธิภาพและส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวมในระยะยาว

bg_covid_1 bg_covid_1_mb

การแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้ซ้ำเติม ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยให้ยิ่ง
น่ากังวลมากขึ้น

โดยทำให้สัดส่วนคนที่มีหนี้เพิ่มมากขึ้นและสัดส่วนคนที่มีหนี้เสียเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่น่ากังวลเดิมอยู่แล้ว ทั้งคนรุ่นใหม่ เกษตรกร และผู้ที่มีรายได้น้อย

โควิด 19 มีส่วนส่งผลให้

สัดส่วนคนไทยที่มีหนี้เพิ่มสูงขึ้นจาก 31% ในปี 2561 เป็น 37% ในปี 2565

นอกจากนี้ ปัญหาคนที่มีหนี้เสียในภาพรวมก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยกระโดดจากปี 2563 ซึ่งอยู่ที่ 17% มาเป็น 20% ในปี 2565

การจะอยู่กับหนี้ได้อย่างไม่เดือดร้อน เราต้องเข้าใจสาเหตุและวิธีรับมือกับภาระหนี้ ซึ่งจริง ๆ แล้ว ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยไม่ได้เกี่ยวข้องกับแค่ลูกหนี้ แต่ยังเกี่ยวพันกับองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น สถาบันการเงินและกลไกให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ ด้วย

สาเหตุของปัญหาหนี้

illus_people_1

ทางออก

(เลื่อนเพื่ออ่านเนื้อหา)

ระดับที่ 1 : เตรียมพร้อมก่อนเป็นหนี้

“คิดก่อนกู้ รู้จักวางแผน”

(คลิกวงกลมเพื่ออ่านเนื้อหาเพิ่มเติม)

วางแผนการออมเงิน

ศึกษาสินเชื่อแต่ละประเภท

เปรียบเทียบดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม

ทบทวนว่าจ่ายตลอดสัญญาไหวไหม

เตรียมแผนรองรับถ้าผ่อนไม่ไหว

illus_people_2

ระดับที่ 2 : เมื่อเป็นหนี้แล้ว

“สร้างวินัย”

(คลิกวงกลมเพื่ออ่านเนื้อหาเพิ่มเติม)

ใช้เงินตามวัตถุประสงค์

ไม่จ่ายแค่
ขั้นต่ำ

จ่ายหนี้ตรงเวลาตามเงื่อนไข

พยายามจ่ายหนี้เพิ่มเมื่อมีเงินก้อน

illus_people_3

ระดับที่ 3: เมื่อเริ่มจ่ายหนี้ไม่ได้

“ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาหนี้”

(คลิกวงกลมเพื่ออ่านเนื้อหาเพิ่มเติม)

เรียงลำดับหนี้

ทบทวน
การเงิน

ติดต่อเจ้าหนี้

ศึกษา
มาตรการ
ช่วยเหลือ

illus_people_4

แล้วสถาบันการเงินและหน่วยงานอื่น ๆ จะเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร?

(เลื่อนเพื่ออ่านเนื้อหา)

สถาบันการเงิน

เป็นเจ้าหนี้ที่มี
ความรับผิดชอบ

ดูภาระหนี้ของลูกหนี้ไม่ให้ลูกหนี้มีภาระ เกินกำลัง ปล่อยสินเชื่อที่เหมาะกับลูกหนี้ กำหนดเงื่อนไขที่เป็นธรรม ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน

สร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้จ่ายและไม่สะสมหนี้

เช่น ลดดอกเบี้ยให้ลูกหนี้ที่จ่ายตรงตามกำหนด กำหนดค่าธรรมเนียมการจ่ายหนี้ก่อนกำหนดเท่าที่จำเป็น

รุกช่วยลูกหนี้ที่เสี่ยงจะติดกับดักหนี้

เช่น สถาบันการเงินควรช่วยลูกหนี้บัตรกดเงินสดที่จ่ายขั้นต่ำจนดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสูงกว่ายอดหนี้ให้สามารถปิดหนี้ได้

ช่วยปรับโครงสร้างหนี้ก่อนขึ้นศาล

เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสจ่ายหนี้ได้ต่อไป โดยไม่ต้องสูญเสียทรัพย์สินหรือเสียประวัติ

ปล่อยหนี้ใหม่ที่อัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงลูกหนี้

ให้ลูกหนี้ความเสี่ยงต่ำได้รับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ขณะที่ลูกหนี้ความเสี่ยงสูงก็ยังเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้

หน่วยงานอื่น ๆ

ปรับปรุงฐานข้อมูลหนี้

เพื่อให้สะท้อนความสามารถในการจ่ายหนี้ได้แม่นยำขึ้น ทำให้ลูกหนี้ไม่มีหนี้เกินตัว และเข้าถึงสินเชื่อด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สะท้อนความเสี่ยง

สร้างเครือข่ายให้ความรู้ทางการเงิน

เพื่อออกแบบหลักสูตรและกลไกในการสร้างวินัยและเปลี่ยนพฤติกรรมลูกหนี้แต่ละกลุ่ม ตั้งแต่ก่อนก่อหนี้จนถึงการฟื้นฟูหลังถูกฟ้อง

พัฒนากลไกการช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหา

โดยเพิ่มจำนวน ประสิทธิภาพ และบทบาทของผู้ไกล่เกลี่ย ผู้ประนีประนอม และผู้ให้คำแนะนำในการแก้หนี้ ให้รองรับลูกหนี้ที่มีปัญหาได้

ขยายผล
มาตรการโควิด 19

เพื่อช่วยเหลือกลุ่มที่รายได้ยังไม่ฟื้นต่อไปจนพ้นวิกฤติโดยไม่สร้างภาระเพิ่มในระยะยาว ผ่านการแก้หนี้ระยะยาว* รวมหนี้** รีไฟแนนซ์*** หรือจัดงานให้ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ได้มาพบและเจรจากัน

มาตรการแก้หนี้ระยะยาว*

ปรับลดการจ่ายหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลงในช่วงวิกฤติ และทยอยจ่ายหนี้เพิ่มเมื่อรายได้กลับมา

มาตรการรวมหนี้**

การรวมหนี้ประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ดอกเบี้ยลดลง เช่น รวมหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน (ดอกเบี้ยสูง) เข้ากับหนี้บ้าน (ดอกเบี้ยต่ำ)

การรีไฟแนนซ์***

การกู้จากเจ้าหนี้ใหม่ที่ดอกเบี้ยน้อยกว่า เพื่อจ่ายหนี้ของเจ้าหนี้เดิมที่ดอกเบี้ยสูงกว่า

แก้ปัญหารายได้และปรับปรุงระบบสวัสดิการรัฐ

เพิ่มทักษะ ปรับปรุงโครงสร้างด้านการเกษตร ให้มีรายได้เพียงพอและมั่นคง และปรับปรุงระบบสวัสดิการรัฐให้เข้าถึงได้ ไม่มีครัวเรือนตกหล่น ระบบมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทุกมิติของปัญหาที่คนในสังคมต้องเจอ เช่น ความพิการ ความชรา หรือความไม่แน่นอนของรายได้ที่เพิ่มขึ้น

จะเห็นได้ว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย มีที่มาจากหลากหลายองค์ประกอบ แต่สิ่งที่เราทำได้ง่าย ๆ เพื่อจะอยู่กับหนี้อย่างไม่เดือดร้อน คือการเตรียมความพร้อมในการเป็นหนี้

footer

ตั้งแต่การสำรวจความจำเป็น ทำความเข้าใจประเภทของหนี้ มีวินัยในการจ่ายหนี้ รวมถึงหาช่องทางต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เราหลุดพ้นจากวังวนของหนี้หรือมีทางออกเมื่อต้องเผชิญกับปัญหา

Content by ธนาคารแห่งประเทศไทย

Created and visualized by Punch Up

illus_pay